สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 

 

 

ศาลสมเด็จพระนเรศวร

ศาลสมเด็จพระนเรศวร

 

 

 

การต่อสู้บนหลังช้าง

การต่อสู้บนหลังช้าง

( จากภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย )

 

 

ชายแดนไทย-พม่า บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

ชายแดนไทย - พม่า บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการต่อสู้ระหว่าง อยุธยากับพม่าเกิดขึ้น

History ประวัติศาสตร์

พระราขประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๔๘ )

สมเด็จพระนเรศวรเสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทน์ที่พิษณุโลกในปี พ.ศ.๒๐๙๘ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี พระองค์มีพระขนิษฐา ๑ พระองค์ คือ พระสุพรรณกัลยาณี ทรงพระราชสมภพในปี พ.ศ.๒๑๓๐ และทรงมีพระอนุชา ๑ พระองค์ คือ สมเด็จพระเอากาทศรฐ ทรงพระราชสมภพในปีพ.ศ.๒๑๓๖

เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุ ๙ พรรษา พม่าได้รุกรานกรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาซึ่งไม่อาจต้านทานได้ได้ส่งช้างเผือก๔เชือกให้แก่พม่า และยังได้ส่งสมเด็จพระนเรศวรไปยังพม่าด้วย เมื่อพระองค์ทรงพำนักอยู่ในพม่าได้ทรงศึกษาวิชาความรู้ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการสู้รบเป็นแม่ทัพกษัตริย์ของพม่าในสมัยนั้นทรงมี พระราชโอรสในรุ่นคราวเดียวกันกับสมเด็จพระนเรศวรพระนามว่า พระมหาอุปราช ทั้ง ๒ พระองค์ทรงเป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่ง วันหนึ่งทรงตีไก่ชนกันและไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรชนะและ พระองค์ทรงกล่าวว่าพระองค์จะกู้อิสรภาพจากพม่าคืนมาสัก วันหนึ่ง

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา พม่าได้มีเงื่อนไขที่จะส่งตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับมายัง กรุงศรีอยุธยาแต่ว่าทางกรุงศรีอยุธยาต้องส่งพระสุพรรณกัลยาณี ไปพม่า อยุธยาซึ่งไม่ค่อยเต็มใจนักต้องจำใจทำตาม เพราะกษัตริย์อยุธยาทรงหวังไว้ว่าสักวันหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรจะทรงกู้อิสรภาพคืนมาได้ เมื่อพระองค์กลับมาอยุธยา ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นตำแหน่งอุปราชจากพระมหาธรรมราชา และเมื่อมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ทรงปกครองพิษณุโลก พระองค์ทรงช่วยงานสงครามในหลายคราว และทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษาในปี พ.ศ.๒๑๓๓

ในปี พ.ศ.๒๑๒๕ พม่าได้ส่งกองทัพมาสู้รบกับอยุธยา โดย มีแม่ทัพคือพระมหาอุปราชในคืนนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงมีศุภนิมิต ว่า มีน้ำกำลังท่วมมาจากทิศตะวันตกและพระองค์ทรงสู้กับจระเข้ และเมื่อพระองค์ทรงตื่นจากบรรทม พระองค์ได้ทรงให้โหรหลวงทำนายและโหรหลวงได้ทำนายว่า พระองค์จะได้ทรงสู้รบ กับพม่าในอีกไม่ช้า ในเวลานั้นพระองค์ทรงได้ข่าวมาว่าพม่ากำลังส่งกองทัพมารุกราน ดังนั้นพระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรฐได้ทรงส่งกองทัพไป ยังชายแดนในทันที

เมื่อพระองค์ทรงเสด็จถึงจุดหมาย ได้ทรงพบกับพระมหาอุปราช กองทัพอยุธยาซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและช้างของสมเด็จพระนเศวร นามว่าพระยาไชยานุภาพ และช้างของสมเด็จพระเอกาทศรฐนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้วิ่งตกมันเข้าไปในกองทัพพม่าแต่โดยลำพังเพียง ๒ เชือกเท่านั้นโดยไม่มีทหารตามเข้าไป สมเด็จพระนเรศวรจึงได้ทรงออกอุบายให้พระมหาอุปราชออก มาสู้กับพระองค์บนหลังช้างเพียง ๒ พระองค์ พระมหาอปราชทรงตกลง การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด จนสุดท้ายสมเด็จพระนเศวรทรงชนะ และพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรฐทรงชนะขุนนางพม่าเช่นเดียวกัน ในการต่อสู้บนหลังช้าง หลังจากนั้นไม่มีศัตรูมารุกรายกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานกว่า ๑๕๐ ปี สมเด็จพระนเรศวรทรงขยายอาณาจักรอยุธยาให้แผ่ขยายออก ไปอย่างกว้างขวาง พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๔๘ ณ เมืองหาง เมื่อทรงทำสงครามกับพม่า

ดังนั้น ประชาชนชาวไทยมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ที่ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพและถวายพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้สร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรเพื่อเคารพสักการะพระองค์อีก ด้วย

Back to top

  • พิษณุโลกเคยเป็นเมืองหลวง ๒๕ ปีในสมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๐๐๖-๒๐๓๐
  • พิษณุโลกเป็นสถานที่ พระราชสมภพของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช
  • พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีความสำคัญ ตลอดมาในอดีต
  • พระพุทธชินราชมพุทธลักษณะ งดงามที่สุดในประเทศไทย
  • ชุมชนโบราณของเมืองพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่วัดจุฬามณี ทางใต้ของตัวเมืองประมาณ ๕ กิโลเมตร
  • ตัวเมืองในปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณ ใกล้วัดใหญ่
  • มีกำแพงเมืองหลายแห่งในอดีต แต่ว่าถูกทำลายในต้น กรุงรัตนโกสินทร์เพราะว่า ไม่ต้องการให้เป็นแหล่ง ซ่องสุมของข้าศึก
  • พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีความสำคัญ เพราะว่าตั้งอยู่ระหว่างหลาย อาณาจักรจึงมีชัยภูมิที่ดี ต่อการตั้งค่ายสู้รบ
  • พิษณุโลกในปัจจุบันมีอายุ กว่า ๖๔๐ ปีแล้ว ซึ่งใกล้เคียงกับเชียงใหม่ และสุโขทัย
 
 
  Free counter and web stats